วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการต่อปีกไก่เพื่อเตรียมต่อสู้

  ปีกของไก่ชนเปรียบเสมือนทุกสิ่งอย่างในการสนับสนุนเรื่องการต่อสู้ หากปีกมีการหักหรือขอปีกไม่สมบูรณ์ ก็จะทำให้ไก่ตีน่ำหนักไม่ได้ และสูญเสียการทรงตัว ทั้งนี้มีเทคนิคและวิธีมาบอกกล่าวหลายวิธี



การต่อปีกด้วยด้าย การต่อด้วยด้ายหรือเชือก จะต้องเอาเข็มร้อยด้าย แล้วเตรียมปีกที่พอดีไปทาบ เอาเข็มแทงใต้ปีกที่จะต่อ แล้วนำมาแทงปีกที่หัก  โดยแทงจากด้านล่างขึ้น-ด้านบน เสร็จแล้วร้อยเข้าเงื่อนตะกรุดเบ็ด และทำให้ได้สองเปลาะ

การต่อด้วยกาว การต่อด้วยกาวจะง่ายกว่าการต่อด้วยด้าย คือ เอากาวแท่งมาลนไฟจนกาวละลายแล้วนำกาวมาทาหลังก้านปีกแล้วเอามาทาบใต้ปีกที่หัก หรือจะนำทั้งสองวิธีมาทำรวมกันก็ได้
ส่วนการต่อปีก ที่หักยันโคนปีก ปรากฏว่ายังไม่มีใครเขาต่อกันได้ แต่ก็ทำได้โดยการเอากรรไกรตัดขนปีกให้ชิดเนื้อ เราตรวจสอบดูว่ามีรูหรือเปล่า ถ้าเห็นว่าไม่มีรู ควรมีเหล็กแหลมๆ ไว้ไขรูขนที่ปีกเพื่อเจาะเอาเยื่อขาวๆ ออก เมื่อเราหาขนได้แล้วเอามาทาบดูว่าใช้ได้หรือเปล่า แล้วเอาขนปีกมาปาดเป็นปากฉลาม แล้วเสียบเข้ารู้ปีกที่เราแต่งเอาไว้ แล้วตรวจสอบดูว่าเรียบร้อยดีหรือเปล่า เมื่อตรวจสอบดีแล้ว ดึงปีกออกเอากระดาษทรายขัดที่โคนปีก แล้วทาด้วยกาวตราช้างแล้วเสียบเข้ารูปีกอย่างเดิม

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การรักษาหน่อเท้าไก่

     หน่อเท้าไก่

         เป็นโรคที่พบได้เสมอ เรียกได้หลายชื่อตามแต่ละท้องถิ่น บางครั้งก็เรียกว่าปรวด หรือเรียกอย่างสากลว่า Pododermatitis หรือ Bumble foot disease มักมีสาเหตุโน้มนำมาจากลักษณะของพื้นกรงหรือคอกที่แข็ง หรือทำจากวัสดุที่สามารถทำให้ได้รับบาดเจ็บ เช่น ตาข่ายพลาสติก กรงเหล็ก การได้รับการกระแทก พื้นคอกชื้น อายุมาก การเลี้ยงหนาแน่น รวมทั้งการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ไบโอติน


   ลักษณะของอากา ระยะแรกฝ่าตีนและอุ้งใต้นิ้วจะบวมแดงร้อนเล็กน้อย ข้อนิ้วและข้อตีนจะบวมได้ อาจพบหรือไม่พบแผลถลอกก็ได้ ไก่จะเริ่มแสดงอาการเจ็บ และไม่ค่อยกล้าลงน้ำหนักลงบนตีนข้างที่เกิด ระยะต่อมาจะเริ่มเห็นแผลหลุมขนาดใหญ่และลึก บางครั้งจะพบว่าอุ้งใต้นิ้วจะมีอาการเห็นชัดก่อน มีการสร้างเคอราตินมากขึ้นในชั้น stratum intermedium หรือพบการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันด้านล่างของบาดแผล ในแผลพบการสร้างหนองและมีแผ่นสะเก็ดปิดสีดำ (scab) แบคทีเรียที่พบมักเป็นกลุ่ม Staphylococcus aureus และ Streptococcus spp. ไก่จะไม่สามารถวางตีนได้ ระยะต่อมารอยโรคจะเริ่มแข็งตัวจากการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมากขึ้น มีการเจริญของเคอราตินมากเกินไปในชั้นหนังกำพร้า ที่เรียกว่าตาปลา (hyperkeratosis) ไก่จะวางตีนได้ แสดงอาการเจ็บปวดลดลง หนองจับตัวเป็นก้อน ในหลายรายอาจไม่พบหนอง แต่พบลักษณะตาปลาที่หนังกำพร้า เมื่อเปิดผ่าเข้าไปจะพบก้อนเหมือนเนยแข็ง หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันลักษณะคล้ายนิ้วมือด้านล่างของบาดแผล ในบางรายที่รุนแรงหรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและมีการติดเชื้อลุกลาม ทำให้เกิดปัญหาโพรงกระดูกอักเสบ (osteomyelitis) ตามมาได้ จะพบบริเวณข้อนิ้วและข้อตีน บางครั้งที่ข้อเข่ามีอาการบวมมาก
    การรักษา ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ทำการวางยาสลบไก่ตามความจำเป็นในการรักษา แล้วทำการล้างบาดแผลและบริเวณโดยรอบให้สะอาด ในรายที่เริ่มมีอาการเพียงบวมร้อนแดง ในระยะแรก เรียกว่าระดับ 1 ดังรูปที่ 5 ให้รักษาโดยการทาขี้ผึ้งหรือครีมบำรุงผิวของคนที่มีลาโนลินผสมเป็นเบส จะช่วยรักษาความชื้นในชั้น stratum corneum ยืดอายุของเซลล์ จะป้องกันการเกิดตาปลา แก้ไขพื้นกรง พันอุ้งตีนด้วยวิธี interdigital bandage หรือ ball bandage ดังรูปที่ 6-9 จนกว่าจะหาย
    ในระยะต่อมาที่รอยโรคเริ่มบวมอักเสบมากขึ้นและมีการสร้างตาปลาแล้ว เรียกว่าระดับ 2 ให้ทาด้วยขี้ผึ้งหรือครีมบำรุงผิวของคนที่มีลาโนลินผสม เพิ่มการให้ไวตามินเอในขนาด 100,000 หน่วยต่อน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในสัปดาห์แรก 2 ครั้ง สัปดาห์ถัดไปสัปดาห์ละครั้ง และพันอุ้งตีนไว้
    หากพบว่ามีการเสื่อมของชั้นเยื่อบุผิว การอักเสบ บวมร้อนแดงอย่างมาก มีบาดแผล อาจพบหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน และสะเก็ดสีดำปิด เรียกว่าระดับ 3 ให้เปลี่ยนจากขี้ผึ้งเป็นสารผสมระหว่าง DMSO 5 มิลลิลิตร ยาต้านการอักเสบ และยาปฏิชีวนะ ในที่นี้จะเรียกว่า DDA จะช่วยลดการอักเสบ การสร้างเคอราตินในการเกิดตาปลา และรักษาการติดเชื้อเฉพาะที่ ในกรณีการเกิดโรคหูดและตาปลาในคน แพทย์จะใช้ยาที่มีส่วนประกอบของ Fluorouracil, Salicylic acid และ Dimethylsulphoxide ป้องกันการเจริญของตาปลาและลดการอักเสบ โดยใช้ป้ายบริเวณรอยโรค ควรระวังเนื้อเยื่อรอบข้างเพราะทำให้ผิวหนังไหม้ได้ ทาวันละ 2-3 ครั้ง ก่อนทาต้องทำความสะอาดรอยแผลเสียก่อน ในบางรายอาจจะต้องตัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออก แล้วทำการรักษาโดยการป้ายยาต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่ใช้เวลา 6 สัปดาห์ แต่ควรใช้ยาต่ออีก 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะเห็นผลการรักษา

เทคนิคการเดินนวมเตรียมพร้อมก่อนชน

           ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับมือใหม่ผู้ชื่นชอบไก่ชน และได้เข้ามาสนใจวงการไก่ชนในมุมมองของการต่อสู้ ว่าไก่ชนก่อนที่จะมีการต่อสู้ต้องมีการเตรียมพร้อมในเรื่องของร่างกายจิตใจ ตลอดจนการคัดสรรค์สายพันธุ์เพื่อใช้ในการต่อสู้ แต่ในกรณีนี้เรามาแบ่งปันเพื่อไปปรับใช้ในการเตรียมการต่อสู้ของไก่ชนนักสู้ของท่านก่องลงสนามต่อสู้ในระยะเวลา 14 วัน ทั้งนี้ต้องมีการให้ยาบำรุงเพื่อให้ร่างการไก่ชนของท่านมีความพร้อมและปรับตัวให้เร็วยิ่งขึ้น


           การเลี้ยงไก่ชนเพื่อออกชนก็เป็นอีกอย่างนึ่งที่ชาวไก่ชนนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นเกมส์กีฬา การเดินนวม หรือ การนวมไก่ เป็นการออกกำลังกายไก่ชนวิธีนึงที่หลายซุ้มชนแพงนิยมทำกัน สำหรับการออกกำลังกายไก่ชน หรือที่เรียกกันว่า การนวมไก่ สามารถฝึกฝนเรื่องพละกำลัง การเบียด การเข้าปะทะ การฝึกระบบหายใจ ซึ่งไก่ชนจะได้ฝึกทั้งไหวพริบพละกำลัง ก่อนการนวมไก่ชนทุกครั้ง ต้องทำการใช้ขนไก่ปั่นเสลดที่คอออกก่อน แล้วจากนั้นให้ไก่กินน้ำ จากนั้นจึงทำการนวมปากบนล่าง และเดือยไก่ เพื่อเป็นการป้องกันบาดแผลที่จะเกิดอันตรายและความบอบช้ำแก่ไก่ชนได้

เทคนิกขั้นตอนการดูแลไก่ระหว่างนวม

             หากไก่ยืนจ้องกันโดยไม่ยอมชนควรกระตุ้นไก่ทั้งคู่ให้ชนกันเหมือนมีกรรมการ เพราะไก่ชนในสนามจะได้ฝึกความคุ้นชินไปด้วย เวลาออกสนามชนจริงจะได้ไม่ตกใจกลัว หลังจากนวมยกแรก 20 นาที การดูแลไก่ระหว่างพักยกการนวม จะทำเหมือนขั้นตอนการออกชนจริงทุกอย่าง เพราะจะเป็นการฝึกความคุ้นชินทั้งไก่และมือน้ำ หลังไก่พักยกนวม ต้องรีบแก้นวมปากไก่ออกแล้วจากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดที่หน้าก่อน แล้วจากนั้นก็ค่อยเช็ดตามตัวให้ทั่วเพื่อให้ไก่ได้ระบายความร้อนและหายเหนื่อย จากนั้นจึงใช้ขนไก่ปั่นคออีกครั้งค่อยให้ไก่ดื่มน้ำ แล้วลงกระเบื้องตามหน้าตามตัวพอประมาณแต่ไม่มาก เพื่อให้เส้นไก่ได้คลายตัว เสร็จให้ไก่ พัก 5 นาที โดยการใช้ผ้าปิดหน้าให้ไก่ได้นอนพัก อันนี้จำไว้เลยนะครับว่าการนวมและการชนจริงมีค่าเท่ากันฉะนั้นต้องทำให้เหมือนจริงที่สุดเก็บลายละเอียดทุกเม็ด หลังจากพักไก่แล้วจะทำการใช้ขนไก่ปั่นคออีกรอบ แล้วให้ดืมน้ำจึงทำการเข้านวมปากยกที่ 2 อีก 20 นาที

การเตะเป้า 5-10 นาที

             ขั้นตอนนี้จะเป็นการเช็คความพร้อมอัตราการบินของไก่ชน หลังจากผ่านขั้นตอนการนวมไก่ชนมาแล้ว เพื่อเช็คดูการออกแข้งของไก่ชน สำหรับขั้นตอนนี้เราต้องทำการ เซฟเดือยไก่ทั้งคู่ แต่ไก่ที่จะเลี้ยงออกตี ควรใช้ผ้ายีนส์ พันสัก 5 รอบ แล้วใช้หนังยากหรือเทปกาวรัดอีกรอบ เพื่อป้องกันความเจ็บปวดให้ไก่นวม ส่วนไก่นวมจะทำการนวมทั้งปากและเดือย สำหรับเดือยต้องนวมให้หนา เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับไก่ที่จะออกชนเราต้องเซฟ การเตะเป้าขั้นตอนนี้จะทำการเช็คไก่ชน ดูอัตราการบิน การออกแข้ง การวางแข็ง เน้นที่อัตราการบิน ขั้นตอนนี้เราจะทำการเตะเป้าก่อนออกชน 4 วัน ถ้าขั้นตอนนี้ไก่บินไม่ดี ไม่ควรนำออกไปชน

การเข้าครอส 14 วัน นวมครั้งแรก 1 ยก ครั้งที่ 2 นวมอีกครั้ง 3-4 วัน

            แต่ต้องดูสภาพของไก่ด้วยว่าบอบช้ำหรือไม่ มีอาการบาดเจ็บรึเปล่า หากสภาพไก่ชนสมบูรณ์ก็ทำการนวมอีก 2 ยก ยกละ 20 นาที จากนั้นอีก 3 วัน ทำการนวมอีกยก 20 นาที อีก 2 วันทำการแตะเป้าดู 5 นาที ดูอัตราการบินของไก่เราที่จะออกชนว่าที่นวมมามีสภาพเป็นยังไง อย่าลืมนะครับระหว่างวันที่ไม่ได้นวมก็ต้องเข้าครอสทำการฟิตซ้อมไก่วิธีอื่นๆ ด้วยเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไก่ชนออนไลน์นำมาฝากกันโชคดีมีไก่ออกชนกันทุกคนครับ
   ทั้งนี้วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ท่านความไปปรับใช้เพื่อความเหมาะสมกับซุ้มกับไก่ชนของท่านเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ยาสมุนไพรสูตรเลี้ยงชน ทำให้ไก่คึก อยากสู้อยากชน


       สูตรนี้เป็นสูตรยาบำรุงที่ไม่ใช่ยาโดปแต่อย่างใด แต่เป็นยาที่บำรุงให้ร่างการไก่ชนของท่านมีสุขภาพที่พร้อมต่อการต่อสู้เพื่อเกมส์กีฬา ทำให้อยากสู้อยากชน คึกคัก บำรุงเลือด ให้ร่างกายพร้อมต่อการสร้างพละกำลังได้เป็นอย่างดี 



ส่วนประกอบ
  1. กระทียมตากแห้ง 1 กก ตากแห้ง
  2. กระชายตากแห้ง 1 กก ตากแห้ง
  3. บอระเพ็ดตากแห้ง 2 กกตากแห้ง
  4. ขิงตากแห้ง ครึ่ง กก.ตากแห้ง
  5. หัวหญ้าแห้วหมูตากแห้ง ครึ่ง กก.(ถ้ามี) มันหายากหน่อยบางพื้นที่
  6. ปลากั้ง 1 กก. หรือ ปลาไหล หรือปลาช่อน ย่างไฟให้สุก ตากแห้ง
  7. กล้วยน้ำว้าตากแห้ง 1 กก ตากแห้ง
  8. ดีปลีตากแห้ง 5-6 หัว ไม่ต้องใส่เยอะเดี๋ยวไก่จะร้อนใน
  9. น้ำผึ้งป่า 1 ขวด
วิธีการทำ
นำสมุนไพรทั้งหมดนี่บดหรือตำให้ละเอียดครับ หรืออาจใช้เครื่องปั่นก็ได้สะดวกดี เมื่อบดแล้วเอาน้ำผึ้งป่ามาผสคลุกเคล้ากัน น้ำผึ้งป่าเป็นตัวผสมคลุกให้เข้ากัน ปั้นเป็นลูกๆ ขนาดเท่ากับครึ่งข้อนิ้วก้อย หรือถ้าไม่สะดวกก็ใส่กล่องพลาสติคเก็บไว้ใช้เลยครับ ยาสูตรนี้สามารถใช้ขณะเลี้ยงชนหรือกำลังทำเนื้อทำตัวไก่ ถ้าจะเลี้ยงออกชนก็ให้กินวันล่ะ 2 เวลา เช้า เย็น ก่อนอาหารครั้งล่ะ 1 ก้อน ถ้าให้ขณะเลี้ยงออกชนจะเห็นความคึกคักของไก่ชนแน่นอน